"โรคลมร้อน" (heat stroke) อันตรายต่อชีวิต เผย 6 กลุ่มเสี่ยงควรระวัง

"โรคลมร้อน" (heat stroke) อันตรายต่อชีวิต เผย 6 กลุ่มเสี่ยงควรระวัง

"โรคลมร้อน" (heat stroke) อันตรายต่อชีวิต เผย 6 กลุ่มเสี่ยงควรระวัง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แพทย์เตือนฮีทสโตรก หรือโรคลมร้อนเสี่ยงเสียชีวิตกลุ่มเสี่ยงต้องเฝ้าระวังอาการผิดปกติ

จากรณีที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดการณ์ว่าประเทศไทยจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นกว่าทุกๆ ปี ซึ่งเป็นไปตามแนวโน้มของอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และหากร่างกายปรับสภาพไม่ทันจะเกิดการเจ็บป่วยและเสียชีวิตได้ง่าย ทั้งนี้อาการที่รุนแรงจนอาจเสียชีวิตได้แก่เพลียแดดโรคลมร้อนหรือฮีทสโตรก (Heat stroke) ซึ่งทุกปีจะมีผู้ป่วยโรคเหตุปัจจัยจากความร้อนเข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลเฉลี่ยปีละประมาณ 3,500 ราย


โรคลมแดด หรือฮีทสโตรก คืออะไร?

นายแพทย์ธีรวัฒน์ วลัยเสถียร ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น เผยสภาพอากาศที่ร้อนจัดเสี่ยงต่ออาการฮีทสโตรก (heat stroke) หรือโรคลมร้อน เป็นภาวะวิกฤตที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวหรือควบคุมระดับความร้อนภายในร่างกาย หากไม่สามารถระบายความร้อนได้ต่อเนื่อง จะทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้เกิดอาการปวดศีรษะหน้ามืด เพ้อชัก ไม่รู้สึกตัว หายใจเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ ช็อก หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจทำให้เสียชีวิตได้


อาการของโรคลมแดด หรือฮีทสโตรก

อากาศร้อนจัดอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการ ดังนี้

  • อ่อนเพลีย

  • คลื่นไส้อาเจียน

  • ตัวร้อนจัด แต่ไม่มีเหงื่อออก 

  • ปวดศีรษะ

  • เดินเซ กระสับกระส่าย

  • ชีพจรเต้นเร็ว

  • ความดันโลหิตลดลง จนอาจทำให้เสียชีวิตได้


กลุ่มเสี่ยงเป็นโรคลมร้อน หรือฮีทสโตรก

กลุ่มเสี่ยงเป็นโรคลมร้อนได้สูงกว่าคนทั่วไป ได้แก่

  1. ผู้ที่ทำงานหรือทำกิจกรรมกลางแดด

  2. เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบและผู้สูงอายุเนื่องจากร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ดีเท่าคนหนุ่มสาว

  3. ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงซึ่งมีปัญหาการทำงานของหัวใจและหลอดเลือดเดิมอยู่แล้ว

  4. คนอ้วน

  5. ผู้ที่อดนอนโดยร่างกายของคนอ้วนและผู้ที่อดนอนจะตอบสนองต่อความร้อนที่ได้รับช้ากว่าปกติโดยเฉพาะในคนอ้วนจะมีไขมันใต้ผิวหนังมากไขมันจะเป็นฉนวนกันความร้อนร่างกายจะเก็บความร้อนได้ดีและระบายความร้อนออกได้น้อยกว่าคนทั่วไป จึงเกิดปัญหาได้ง่าย

  6. ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฤทธิ์ของแอลกอฮอล์จะทำให้เส้นเลือดฝอยที่อยู่บริเวณใต้ผิวหนังขยายตัวได้มากขึ้น ส่งผลให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่สูงกว่าคนที่ไม่ได้ดื่ม ขณะเดียวกันในสภาพอากาศที่ร้อนจัด แอลกอฮอล์จะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้รวดเร็ว และออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจให้สูบฉีดเลือดเร็ว และแรงขึ้น มีผลทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจทำงานต้องหนัก เพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายอาจทำให้ช็อค และเสียชีวิตได้

 

อันตรายจากแสงแดดร้อนจัดอื่นๆ 

นอกจากโรคลมแดดแล้ว แสงแดดร้อนจัดในหน้าร้อนของบ้านเรา อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพได้อีก คือ

  1. ทำให้ผิวหนังไหม้

  2. ตะคริว เนื่องจากสูญเสียน้ำและเกลือแร่ไปกับเหงื่อมาก

  3. อาการเพลียแดดเนื่องจากสูญเสียเหงื่อมากเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อลดลงจะมีอาการหน้าซีดปวดศีรษะคลื่นไส้อาเจียนหน้ามืดตาลายและ


วิธีปฐมพยาบาลผู้ป่วยโรคลมแดด หรือฮีทสโตรก

  1. นอนราบ ยกเท้าสูง ทั้งสองข้างเพื่อให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองมากขึ้น

  2. คลายชุดชั้นใน และถอดเสื้อผ้าออกให้เหลือน้อยชิ้น

  3. ใช้ผ้าชุบน้ำเย็น หรือน้ำแข็งประคบตามซอกคอตัวรักแร้ ขาหนีบ หน้าผาก

  4. ใช้พัดลมช่วยเป่าระบายความร้อน หรือใช้น้ำเย็นราดตัว เพื่อลดอุณหภูมิของร่างกายให้ต่ำลง

  5. รีบส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด


วิธีป้องกันตัวเองจากโรคลมแดด หรือฮีทสโตรก

การป้องกันอันตรายจากโรคลมร้อนในช่วงที่มีอากาศร้อน มีวิธีดังนี้ 

  1. แนะนำให้สวมใส่เสื้อผ้าสีอ่อน ไม่หนา ระบายความร้อนได้ดี

  2. ควรอยู่ภายในบ้านเช่นใต้ถุนบ้าน หรืออยู่ใต้ร่มไม้

  3. ลดกิจกรรมที่ต้องออกแรงกลางแจ้ง

  4. สวมแว่นกันแดด สวมหมวกปีกกว้าง

  5. ควรดื่มน้ำมากกว่าปกติ

  6. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด

  7. อย่าทิ้งเด็กผู้สูงอายุหรือสัตว์เลี้ยงไว้ในรถที่จอดอยู่กลางแจ้ง ความร้อนภายในรถจะมีโอกาสเสี่ยงสูงมาก

  8. ผู้ที่ออกกำลังกาย ควรเลือกในช่วงเช้าหรือช่วงเย็น เนื่องจากเป็นช่วงที่อากาศไม่ร้อนมาก และควรมีการอบอุ่นร่างกายก่อนทุกครั้ง

  9. ผู้ที่มีโรคประจำตัวหากมีอาการผิดปกติ เช่นวิงเวียน ปวดศีรษะ ใจสั่น ขอให้พบแพทย์หรือโทรปรึกษาสายด่วน 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook