5 สาเหตุหลักของอาการ "ปวดหลังชนิดเรื้อรัง"

5 สาเหตุหลักของอาการ "ปวดหลังชนิดเรื้อรัง"

5 สาเหตุหลักของอาการ "ปวดหลังชนิดเรื้อรัง"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การทำความเข้าใจอาการและสาเหตุของอาการปวดหลัง เป็นสิ่งที่สำคัญ เนื่องจากอาการเจ็บชนิดหนึ่ง อาจนำไปสู่อาการเจ็บชนิดอื่นๆ และทำให้เกิดปัญหามากมายในระบบต่างๆ ของร่างกายได้ กระบวนการนี้ทำให้เกิดการกำเริบของอาการปวดหลัง และสามารถนำไปสู่ อาการปวดหลังชนิดเรื้อรังได้

เมื่อผู้ป่วยเข้าพบหมอเป็นครั้งแรก เพื่อพูดคุยถึงอาการปวดหลัง โดยส่วนใหญ่ แพทย์มักจะแนะนำวิธีการรักษาแบบเดียวกันที่ใช้ได้กับทุกๆ กรณี โดยทั่วไป แพทย์มักเริ่มตรวจวินิจฉัย และเริ่มขั้นตอนการรักษาแบบเฉพาะทางขั้นสูง และอธิบายวิธีการตรวจรักษาอย่างละเอียด แต่แท้จริงแล้วการขั้นตอนการรักษาอาการปวดหลังนั้นมีหลากหลาย เท่ากับว่าการตรวจวินิจฉัยนั้นเป็นการสร้างสมมติฐาน และลองผิดลองถูกมากกว่า

ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างถูกต้อง เพื่อประเมินถึงสาเหตุของอาการปวดได้อย่างชัดเจน สาเหตุของอาการปวดหลังมีหลากหลาย แต่อาการปวดหลังส่วนใหญ่นั้น เกิดจากหนึ่งในห้าปัญหา ที่เป็นส่วนหนึ่งของอาการที่พัฒนาไปสู่อาการปวดหลังชนิดเรื้อรัง ได้แก่

  • กล้ามเนื้อฉีก

  • อาการปวดข้อฟาเส็ท (ข้อต่อที่อยู่ด้านหลังของกระดูกสันหลัง)

  • อาการหมอนรองกระดูกเคลื่อน

  • อาการปวดลงขาถึงบริเวณข้อพับ

  • อาการปวดที่ข้อกระดูกสันหลังกับเชิงกราน

 

อาการกล้ามเนื้อฉีก

เป็นสาเหตุที่เกิดขึ้นมากที่สุด ที่ก่อให้เกิดอาการปวดหลังเฉียบพลัน สูงถึงร้อยละ 95 ของผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังเฉียบพลัน เมื่อมีการใช้กล้ามเนื้อหลังมากเกินไป กล้ามเนื้อจะเกิดการกระตุก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการบาดเจ็บเพิ่มขึ้น อาการกระตุกและปวดนั้นเป็นสัญญาณเตือนของร่างกายซึ่งไม่ควรละเลย สิ่งที่ดีคือ อาการปวดหลังที่เกิดจากกล้ามเนื้อฉีกนั้นไม่รุนแรง และสามารถตอบสนองการรักษาตามอาการได้ โดยใช้เวลาประมาณสองถึงสามวันหรือไม่กี่อาทิตย์ในการเยียวยา

ในขณะที่อาการกล้มเนื้อฉีกในคนส่วนใหญ่สามารถรักษาได้โดยง่าย แต่อาการนี้สามารถเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาที่ใหญ่กว่า หากอาการกล้ามเนื้อฉีกเกิดขึ้นต่อเนื่อง อาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ และนำไปสู่อาการปวดหลังเรื้อรังได้ และหากอาการกล้ามเนื้อฉีกยังคงอยู่มากกว่าสองสัปดาห์ คุณควรพิจารณาว่า เป็นอาการเจ็บกล้ามเนื้อ หรือเป็นสัญญาณของกล้ามเนื้อ ที่พยายามป้องกันสิ่งอื่นไม่ให้เกิดอาการบาดเจ็บ

 

อาการปวดข้อฟาเส็ท (ข้อต่อที่อยู่ด้านหลังของกระดูกสันหลัง)

เกิดจากการอักเสบของข้อฟาเส็ท ซึ่งถือเป็นอาการที่เกิดขึ้นมากที่สุดลำดับที่สอง ที่ทำให้เกิดอาการปวดหลัง ข้อฟาเส็ทนี้เชื่อมกับข้อกระดูกสันหลัง ซึ่งเป็นกระดูกที่เรียงต่อกันบริเวณสันหลัง ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังเรื้อรังนั้น ข้อต่อกระดูกสันหลังฟาเส็ทเป็นบริเวณที่ทำให้เกิดอาการปวดเริ่มแรก ในผู้ป่วยถึงร้อยละ 90 ทำให้อาการปวดนี้นำไปสู่อาการปวดหลังเรื้อรังต่อไป จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมผู้ป่วยที่มีอาการปวดข้อฟาเส็ท จึงต้องรีบเข้ารับการรักษาเพื่อจัดการกับอาการก่อนที่จะเกิดอาการอื่นเรื้อรัง

 

อาการหมอนรองกระดูกเคลื่อน

หมายถึง การเคลื่อนตัวไปด้านหลังของหมอนที่รองกระดูกสันหลังสองชิ้น ในทางทิศทางเข้าหาโพรงกระดูกสันหลัง ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดหลังขึ้น อาการนี้ตรวจพบได้ด้วยการใช้การตรวจเอ็มอาร์ไอ อาการหมอนรองกระดูกเคลื่อนนี้มีหลายชนิด แต่มักจะพัฒนาและได้รับการรักษาด้วยวิธีการเดียวกัน อาการหมอนรองกระดูกเคลื่อนเป็นอาการที่ได้รับการวินิจฉัยที่พบมากที่สุดเป็นลำดับที่สอง ที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังเรื้อรัง และเป็นหนึ่งในอาการที่ได้รับการวินิจฉัยที่เกินกว่าเหตุมากที่สุด เนื่องจากการเคลื่อนของหมอนรองกระดูกพบได้ง่ายด้วยการตรวจด้วยเอ็มอาร์ไอ

 

อาการปวดหมอนรองกระดูกลงขาถึงบริเวณข้อพับ

ในขณะที่อาการหมอนรองกระดูกเคลื่อน ทำให้เกิดอาการปวดที่บริเวณเส้นประสาท และเนื้อเยื่อใกล้เคียง อาการปวดหมอนรองกระดูกลงขา ถึงบริเวณข้อพับ (Discogenic Pain) เกิดจากอาการบาดเจ็บภายในของหมอนรองกระดูกเอง เนื่องจากอาการเจ็บมาจากหมอนรองกระดูก ผู้ป่วยจะเกิดอาการเจ็บทุกครั้งที่เคลื่อนไหว อาการปวดหมอนรองกระดูกลงขาถึงบริเวณข้อพับเกิดขึ้นที่ส่วนกลางของหลังและมีอาการคล้ายกับอาการปวดข้อต่อกระดูกสันหลังฟาเส็ท ทำให้ต้องเข้ารับการตรวจอย่างรอบคอบ อาการของการปวดหมอนรองกระดูกที่เกิดขึ้นที่คล้ายกับอาการหมอนรองกระดูกเคลื่อ นและปวดข้อต่อกระดูกสันหลังฟาเส็ท อาจกระตุ้นความเจ็บปวด แต่สาเหตุที่ซ่อนอยู่ มักเกิดจากความไม่มั่นคง และความไม่แข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการพยุง

กลุ่มกล้ามเนื้อที่ใช้ในการพยุง 2 ชุดที่ส่งผลต่อาการปวดหลัง คือ กล้ามเนื้อพยุงส่วนสะโพก และกล้ามเนื้อส่วนลึกที่ทำหน้าที่พยุงกระดูกสันหลัง

 

อาการปวดที่ข้อกระดูกสันหลังกับเชิงกราน (Sacroiliac Joint Pain)

หรืออาการปวดสะโพกร้าวลงขา อาการนี้เกิดขึ้นตามชื่อของอาการ คือ เกิดขึ้นบริเวณข้อกระดูกสันหลัง กล่าวคือบริเวณที่กระดูกสันหลังเชื่อมต่อกับเชิงกราน

ข้อต่อถูกล้อมรอบด้วยเอ็นต่างๆ ที่ทำให้ข้อต่อไม่เคลื่อนที่ หรืออย่างน้อยมันถูกสร้างมาเพื่อไม่ให้เคลื่อนทื่ เมื่อกระดูกสันหลังไม่มั่นคง อันเนื่องมาจากกล้ามเนื้อพยุงที่ไม่แข็งแรง ร่างกายจะทดแทนด้วยท่าทางการเดินที่เปลี่ยนไป เพื่อช่วยในการรักษาความมั่นคงของกระดูกสันหลัง แต่จะทำให้เกิดการฉีกหรือยืดตัวของเอ็นที่อยู่รอบๆ ข้อต่อ จนทำให้เอ็นเหล่านั้นไม่สามารถยึดข้อต่อให้มั่นคงได้ ในขณะที่อาการนี้อาจเกิดจากการบาดเจ็บ หรือกรรมพันธุ์ แต่โดยปกติแล้วอาจมาจากกล้ามเนื้อพยุงที่ไม่แข็งแรง ที่นำไปสู่อาการปวดหลังเรื้อรัง

เมื่อผู้ป่วยไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างถูกต้อง และได้รับการรักษาที่เหมาะสม ที่เข้าใจถึงพัฒนาการของอาการปวดหลังเรื้อรัง อาการปวดหลังจึงยังคงอยู่ ด้วยสาเหตุเหตุนี้ จึงนำไปสู่ความไม่แข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่พยุง และทำให้เกิดอาการปวดที่เพิ่มขึ้น

ในการจัดการกับภาวะวิกฤตินี้ แพทย์และผู้ป่วยต้องร่วมมือกัน และหลุดออกจากวิธีคิดเกี่ยวกับอาการปวดหลังที่ล้าสมัย และไม่เกิดผล วิธีการคิดถึงลำดับของอาการปวดหลัง ถือเป็นการปฏิวัติทางแนวคิดใหม่ เราต้องระลึกว่า ร่างกายของเราเป็นเหมือนเครื่องมือ ที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลให้ใช้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook