วัยชรา ผู้สูงอายุ ต้องตรวจสุขภาพอะไรบ้าง?

วัยชรา ผู้สูงอายุ ต้องตรวจสุขภาพอะไรบ้าง?

วัยชรา ผู้สูงอายุ ต้องตรวจสุขภาพอะไรบ้าง?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผู้หญิงในวัย 65 ปีขึ้นและผู้ชายในวัย 70 ปีขึ้นไปทุกคนควรที่จะได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี โดยตรวจความหนาแน่ของมวลกระดูก เพื่อคัดกรองว่ากระดูกนั้นเริ่มบาง หรือเริ่มพรุนแล้วรึยัง เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดกระดูหักและส่งเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที ซึ่งในผู้สูงวัยจะต้องได้รับการตรวจหาวิตามินบางชนิด อาทิ วิตามินบี 12 และโฟเลต เนื่องจากเป็นวิตามินที่มีความสำคัญต่อสภาพสมอง อารมณ์ ระบบเลือด ระบบประสาท และความแข็งแรงโดยรวมของร่างกาย นอกจากนั้นการตรวจข้อ กล้ามเนื้อ และการทรงตัวเพิ่มเติมยังมีความจำเป็นต่อผู้สูงอายุ เนื่องจากการหกล้มของผู้สูงสัยอาจทำให้ชีวิตเปลี่ยนไป มีความอันตราย และอาจทำให้เสียชีวิตได้จากการหกล้มเพียงครั้งเดียว

ถึงแม้หลักการของสหประชาติได้ระบุเอาไว้ว่า "ผู้สูงอายุ" คือ บุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป แต่ในความเป็นจริงเซลล์ภายในร่างกายของมนุษย์นั้นเสื่อมสภาพลงทุกวัน อีกทั้ง ผู้สูงอายุเหล่านี้ก็เคยหนุ่มสาวมาก่อนทั้งสิ้น การใช้ชีวิต การเคลื่อนไหวร่างกาย และการใช้อวัยวะต่างๆ ที่ก็เกิดขึ้นมากตามความแข็งแรงของช่วงวัย เมื่อเวลาผ่านไป อายุเพิ่มขึ้น ทุกระบบของร่างกายย่อมมีการเปลี่ยนแปลง ฉะนั้น การตรวจสุขภาพในผู้สูงอายุจะไม่ได้รับแค่เพียงการเจาะเลือด หรือตรวจร่างกายพื้นฐานอีกต่อไป

เริ่มต้นด้วยการประเมินสุขภาพ

ด้วยบริบทของชีวิตผู้สูงอายุมีมากขึ้นตามวัย การตรวจสุขภาพจึงจำเป็นต้องมีการประเมินสุขภาพก่อนการตรวจ โดยแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้

  1. ร่างกาย (Physical) ซักประวัติ ตรวจร่างกาย และประเมินผลจากห้องปฏิบัติการ เพื่อหาปัญหาโรคทางกาย

  2. สภาวะสมองและจิตใจ (Cognitive and Mental) ตรวจความจำ คัดกรองโรคสมองเสื่อม และตรวจสภาวะทางอารมณ์

  3. สังคม (Social support) ด้วยสภาพร่างกายที่เปลี่ยนไป มีโรคประจำตัวรุมเร้า และไม่สามารถทำกิจกรรมบางอย่างได้เหมือนวัยหนุ่มสาว ผู้สูงอายุจึงจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนทางสังคมมากขึ้น หากผู้สูงอายุท่านใดมีแรงสนับสนุนทางสังคมที่ดี เช่น ลูกๆ ดูแลดี มีเพื่อน และคนไข้ใส่ใจดูแลตนเอง ก็มีแนวโน้มว่าผู้สูงวัยท่านนั้นจะมีสุขภาพดีและชีวิตยืนยาวมากกว่าผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่คนเดียว ไม่มีคนสนใจดูแล

  4. ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (Functional assessment) เนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้นร่างกายมีความเปลี่ยนแปลง หู ตา ข้อต่อ กำลังกล้ามเนื้อ รวมถึงความจำไม่ดี อาจทำให้กิจกรรมง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น ล้างหน้า อาบน้ำ แปรงฟัน หรือแม้แต่การรับประทานอาหารเองกลายเป็นเรื่องยาก ดังนั้นการประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันทำให้ทราบว่า ผู้สูงอายุท่านใดต้องการการดูแลช่วยเหลือในกิจวัตรประจำวันอย่างไรบ้าง

ตรวจสุขภาพแบบรุ่นใหญ่

ซักประวัติตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า

การตรวจสุขภาพในผู้สูงอายุเริ่มต้นด้วยการซักประวัติ แต่ไม่เพียงแค่คำถามพื้นฐานทั่วไป การซักประวัติผู้สูงวัยต้องเริ่มต้นตั้งแต่ ศีรษะจรดปลายเท้า นอกจากถามถึงความผิดปกติของระบบต่างๆ ในร่างกายแล้ว ยังมีคำถามเจาะลึกถึงกิจวัตรประจำวัน ลักษณะความเป็นอยู่ การเดินทางมายังโรงพยาบาล รวมถึงผู้ดูแล เป็นต้น

การตรวจร่างกายในผู้สูงอายุ จะเน้นให้ความสำคัญกับ 3 ระบบอวัยวะหลัก คือ

  • ระบบหัวใจ หลอดเลือด เนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักเป็นความดัน เบาหวาน ไขมัน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองตีบ

  • ระบบประสาทและสมอง การตรวจร่างกายผู้สูงวัย ต้องทำการทดสอบความจำและสมรรถภาพสมองด้วย

  • ระบบกระดูก ข้อ กล้ามเนื้อและการทรงตัว การหกล้มในผู้สูงวัยเกิดจากหลายปัจจัย เช่น กล้ามเนื้อ กระดูก และข้อต่อใช้งานได้ไม่ดี หรือมีโรคประจำตัว รวมถึงผลจากการใช้ยาบางชนิด ผู้สูงอายุหลายท่านมักกลัวการหกล้ม เนื่องจากการหกล้มในผู้สูงวัยถือเป็นเรื่องใหญ่มาก หลายท่านชีวิตเปลี่ยนไป หรืออาจเสียชีวิตได้เพราะหกล้มเพียงครั้งเดียว

ตรวจคัดกรองโรคในผู้สูงวัย

การเจาะเลือดเพื่อตรวจสุขภาพขั้นพื้นฐาน น้ำตาล ไขมัน ไต ตับ และค่าเข้มข้นของเม็ดเลือดขาวและเม็ดเลือดแดง ในผู้สูงอายุมีความจำเป็นเช่นเดียวกับการตรวจสุขภาพประจำปีของคนทั่วไป หากแต่ควรมีการตรวจเพิ่มเติม เช่น ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ และการตรวจวิตามินบางชนิด อาทิ วิตามินบี 12 และโฟเลต เนื่องจากเป็นวิตามินที่มีความสำคัญกับสภาพสมอง อารมณ์ ระบบเลือด ระบบประสาท และความแข็งแรงโดยรวมของร่างกาย

ผู้สูงวัยส่วนใหญ่มักมองข้ามการตรวจโรคกระดูกพรุน ผู้สูงวัยทุกคนควรได้รับการตรวจความหนาแน่นของกระดูก อีกทั้ง การคัดกรองโรคมะเร็งในผู้สูงอายุก็มีความจำเป็นเช่นกัน โดยแนะนำให้ตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่ , มะเร็งเต้านม , มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งปอดในผู้ที่มีประวัติการสูบบุหรี่เรื้อรัง นอกจากนั้น การตรวจด้านอื่นๆ อาทิ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ , การเอกซเรย์ปอด , การเดินสายพาน ขึ้นอยู่กับการพิจารณาตามความเหมาะสมของแพทย์ เพื่อหาปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพกับผู้สูงอายุและสามารถเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที

สำหรับการตรวจคัดกรองในผู้สูงอายุนั้น จำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีแพทย์ที่ดูแลเป็นประจำ หรืออาจเป็นแพทย์เฉพาะทาง จะได้สามารถลงรายละเอียดการตรวจคัดกรองในแต่ละคนได้ ช่วยให้เกิดประสิทธิภาพสูงที่สุดในการเข้ารับการตรวจคัดกรองแต่ละครั้ง โดยรวมแล้ว การตรวจสุขภาพประจำปียังเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุที่ร่างกายการผ่านกาใช้งานมาเป็นเวลานาน ความเสื่อมของระบบต่างๆ ก็ยิ่งมากขึ้น เพราะความเจ็บป่วยเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่สามารถชะลอหรือป้องกันให้เกิดผลเสียกับชีวิตน้อยที่สุดได้

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook