“พรม” ในบ้าน-ห้องพักโรงแรม-ออฟฟิศ สกปรกมากแค่ไหน?

“พรม” ในบ้าน-ห้องพักโรงแรม-ออฟฟิศ สกปรกมากแค่ไหน?

“พรม” ในบ้าน-ห้องพักโรงแรม-ออฟฟิศ สกปรกมากแค่ไหน?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อาจจะเป็นเรื่องโชคดีที่บ้านเราอาจไม่ค่อยนิยมใช้พรมในการปูพื้นสักเท่าไร แต่หากเป็นพรมขนาดเล็กในห้องนอน หรือห้องพักโรงแรมที่ตกแต่งในสไตล์ยุโรป หรือมีโอกาสได้ไปพักผ่อนที่ต่างประเทศ พื้นพรมคงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรนัก และวัยทำงานที่ใช้ชีวิตอยู่ในออฟฟิศปูพรมก็คงจะเคยชิ้นกับพื้นนุ่มๆ นี้กันอยู่แล้ว แต่พื้นพรมนุ่มสบายเท้า และเพิ่มความสวยงามให้กับห้องนี้ กลับมีอันตรายต่อสุขภาพมากกว่าที่เราคิด หากเราดูแลรักษาไม่ดีมากพอ (ซึ่งส่วนมากก็มักจะเป็นเช่นนั้น)

 

“พรม” แหล่งรวมสิ่งสกปรกมหาศาล หากไม่ทำความสะอาดให้ดี

  1. หนังกำพร้า


    อ่านแล้วอาจจะรู้สึกสยอง แต่พบหนังกำพร้ามนุษย์บนพื้นพรมมากมายนับไม่ถ้วน Phillip Tierno ศาสตราจารย์ประจาควิชาจุลชีววิทยา และพยาธิวิทยา มหาวิทยาลัย NYU Langone Health ระบุว่า “เราผลัดเซลล์ผิวออกมาในรูปของหนังกำพร้าทุกๆ วันโดยอัตโนมัติ” หนังกำพร้าเหล่านี้อาจมีขนาดเล็กมากจนไม่ทันสังเกตเห็น แต่หนังพวกนี้เป็นแหล่งอาหารของไรฝุ่นเป็นอย่างดี ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกที่พรมจะเป็นแหล่งสะสมไรฝุ่นชั้นดีที่สุดอย่างหนึ่งภายในห้องเลยทีเดียว
  2. ชิ้นส่วนของซากแมลงที่ตายแล้ว


    ไม่ว่าจะมด แมลงสาบ แมลงหวี่ แมลงวัน ยุง แมงมุม และอีกหลากหลายสิบหลายร้อยแมลง สามารถพบได้ในพรมเหล่านี้ ยิ่งพรมที่มีเนื้อหยาบ ก็ยิ่งเป็นแหล่งสะสมชั้นดีของเหล่าซากสัตว์ขนาดเล็กได้มาก ที่แย่คือเรามักมองไม่ค่อยเห็น หากบังเอิญผิวหนังของเราไปสัมผัสกับพรมที่มีซากแหลงเหล่านี้ ใครที่มีอาการแพ้ก็อาจเกิดผื่นคันโดยไม่รู้ตัวได้ มากไปกว่านั้นหากมือสัมผัสพรมเหล่านั้นแล้วมาสัมผัสอาหาร เราอาจทานอาหารที่ติดเชื้อโรคเข้าไปได้โดยไม่รู้ตัว
  3. สารคัดหลั่งจากร่างกาย


    ที่น่าอันตรายเป็นอันดับต้นๆ ของพรม นอกจากเรื่องฝุ่น และแมลงแล้ว พรมยังเป็นแหล่งสะสมของสารคัดหลั่งจากร่างกายมนุษย์ที่เต็มไปด้วยเชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรียมากมายที่ยากต่อการกำจัด หากมีคนไอ หรือจามแรงๆ สารคัดหลั่งที่ออกมาจากปาก หรือจมูกของคนเหล่านั้นอาจกระจายลงสู่พื้นพรมได้ง่ายๆ และมีโอกาสที่เราจะติดเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัสเหล่านั้นจากการสัมผัส เช่น มือสัมผัสพื้น เท้าสัมผัสพื้นแล้วเอามือมาจับเท้าอีกที เชื้อติดรองเท้าแล้วส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายสัมผัสรองเท้า หรือวางปลั๊กไฟ และกระเป๋าลงบนพื้นแล้วมือหยิบของเหล่านั้นอีกครั้ง ฯลฯ หลากหลายสถานการณ์ที่ทำให้เราสัมผัสกับเชื้อโรคเหล่านี้จากพื้นพรมได้โดยไม่รู้ตัว ดังนั้นพรมจึงเป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อโรคต่างๆ โดยเฉพาะเชื้อโรคติดต่ออย่างหวัดได้เป็นอย่างดี
  4. เชื้อรา


    ความชื้นจากรองเท้าที่ย่ำน้ำเข้ามาในห้อง ความชื้นจากห้องที่เปิดเครื่องปรับอากาศไม่แรงมากพอ รวมไปถึงปัจจัยหลายๆ อย่างที่ทำให้อุณหภูมิห้องเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อรา พรมจะเป็นส่วนที่เพาะพันธุ์เชื้อราได้มากที่สุด เพราะความหนา และกักเก็บอุณหภูมิความชื้นได้ดี จึงทำให้พรมที่ไม่ได้รับการทำความสะอาดมากพอเกิดเชื้อราขึ้นได้ง่ายๆ
  5. เศษอาหาร

    ไม่ใช่เรื่องแปลกหากเราจะทานอาหารในห้องที่มีพรม และไม่ใช่เรื่องแปลกอีกเช่นกันที่จะมีเศษอาหาร หรือเศษขนมอย่าง ขนมปังกรอบ มันฝรั่งกรอบ เกล็ดน้ำตาล ผงปรุงรสจากขนมต่างๆ กระจัดกระจายอยู่ตามพื้นพรม และหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการทำความสะอาด อาหารเหล่านี้ก็จะมีเชื้อแบคทีเรียก่อตัวขึ้นในเวลาไม่นาน เป็นแหล่งเชื้อโรคดีๆ ในเวลาสั้นๆ ได้

 

วิธีทำความสะอาดพรมที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่อันตรายต่อสุขภาพ

  • ควรทำความสะอาดพรมทันทีที่พบเห็นสิ่งสกปรกอย่างชัดเจน เช่น ทำอาหารหกใส่ หรือพบเห็นซากแมลงขนาดใหญ่ตายบนพรม

  • ควรใช้เครื่องดูดฝุ่นทำความสะอาดพรมทุกสัปดาห์เป็นอย่างน้อย แต่ก็สามารถดูดฝุ่นทุกวันได้หากเป็นห้องที่มีผู้อาศัยอยู่ร่วมด้วยจำนวนมาก

  • หากเป็นพรมขนาดไม่ใหญ่มาก เช่น พรมเช็ดเท้า แล้วสามารถซัก-ตากได้เอง ควรซักพรมทุกๆ 1-2 เดือน แต่หากเป็นพรมขนาดใหญ่ ควรใช้บริการรับจ้างซักพรมจากผู้เชี่ยวชาญโดยตรง

  • การซักพรมด้วยตัวเอง ควรซักในน้ำยาซักผ้ากับน้ำอุ่น (ไม่เกิน 40 องศาเซลเซียส) ใช้แปรงขัดผ้าขัดเป็นวงให้ทั่วๆ พรม ล้างน้ำสะอาด แล้วใช้ผ้าสะอาดซับน้ำออกจากพรมให้ได้มากที่สุด ก่อนจะนำไปตากแห้งกับแสงอาทิตย์ หากไม่สามารถยกพรมออกจากพื้นได้ ควรเปิดประตูหน้าต่างภาบในบ้าน ให้ลมพัดโกรกภายในบ้าน และอาจเปิดพัดลม หรือใช้ไดร์เป่าผมในบางจุดที่ลมพัดไม่ถึง หรือพรมมีความหนามากเป็นพิเศษได้

  • คราบน้ำบนพรม หรือส่วนของพรมที่มีกลิ่นเหม็นอับชื้น สามารถทำความสะอาดได้ โดยใช้ผ้าไมโครไฟเบอร์ที่มีประสิทธิภาพในการซับน้ำ ค่อยๆ ซับน้ำบนพรมโดยไม่ต้องขยี้ หรือถูแรงเกินไป เพราะอาจทำให้พรมเสียสภาพ แล้วใช้ผงฟู หรือเบกกิ้งโซดาโรยบนคราบนั้น แล้วทิ้งไว้ 30 นาที – 1 ชั่วโมง ก่อนใช้เครื่องดูดฝุ่นทำความสะอาดอีกครั้ง

  • หากพรมเสื่อมสภาพ ควรเปลี่ยนใหม่ให้เรียบร้อย

 

>> หลักความสะอาด 10 สิ่งทำทุกสัปดาห์ กับอีก 3 สิ่งไม่ต้องทำบ่อย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook