Facebook, Instagram, Twitter ส่งผลกระทบอะไรต่อร่างกายของเราบ้าง

Facebook, Instagram, Twitter ส่งผลกระทบอะไรต่อร่างกายของเราบ้าง

Facebook, Instagram, Twitter ส่งผลกระทบอะไรต่อร่างกายของเราบ้าง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปัจจุบันคุณเล่นโซเชียลมีเดียอะไรบ้าง Facebook, Instagram หรือ Twitter? คุณอาจจะเล่นหมดทั้งสามอย่าง หรืออาจจะเล่นอย่างอื่นด้วย เช่น YouTube, Snapchat, Tumblr แอปถ่ายคลิปวิดีโอ แอปคุย แอปหาคู่ หรืออื่นๆ เหตุที่คนส่วนใหญ่เลือกที่ก้าวเข้ามาในโลกของโซเชียลมีเดีย เพราะเป็นสื่อที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในสังคมปัจจุบัน และเป็นแหล่งรวมเนื้อหาต่างๆ นานาให้เราได้คุย ได้อ่าน ได้เพลิดเพลินแทนที่สื่อเก่าที่มีมานานอย่างโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และวิทยุ

แต่การใช้โซเชียลมีเดียมากๆ อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตของเราได้โดยที่เราไม่รู้ตัว และโซเชียลมีเดียแต่ละอย่างก็ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเราไม่เหมือนกัน และไม่เท่ากัน

จากการรวบรวมข้อมูลของผู้ใช้โซเชียลมีเดียชาวอังกฤษวัย 14-24 ปี เปรียบเทียบกับสุขภาพโดยรวมในปี 2017 แสดงให้เห็นว่า โซเชียลมีเดียส่งผลกระทบต่อร่างกายทั้งในด้านดี และด้านลบ ดังนี้

 

ปัญหาในการนอนหลับ

ผู้ใช้งาน Facebook มีปัญหาด้านการนอนหลับพักผ่อนมากที่สุด รองลงมาเป็นผู้ใช้งาน Instagram และ Twitter

 

ปัญหา Fear of Missing Out

ปัญหา Fear of Missing Out หรืออาการวิตกกังวลว่าจะตกกระแส ตามข่าวไม่ทันจนกระวนกระวายใจเกินเหตุ ผู้ใช้ Instagram ได้รับผลกระทบมากที่สุด รองลงมาเป็น Facebook และ Twitter

 

ปัญหาการกลั่นแกล้งผ่านโลกไซเบอร์

ผู้ใช้งาน Facebook ได้รับผลกระทบมากที่สุด รองลงมาเป็นผู้ใช้ Twitter และ Instagram

 

ปัญหาการขาดความมั่นใจในรูปร่างหน้าตา

เห็นได้อย่างชัดเจนว่าแพลตฟอร์มอย่าง Instagram ที่เน้นการถ่ายรูปเป็นหลักจะได้รับผลกระทบไปเต็มๆ ตามมาด้วยผู้ใช้งาน Facebook และ Twitter

 

ปัญหาเรื่องความวิตกกังวล

ผู้ใช้งาน Instagram ได้รับผลกระทบมากที่สุด รองลงมาเป็นผู้ใช้งาน Facebook และ Twitter

 

ปัญหาอาการซึมเศร้า

ผู้ใช้งาน Facebook ได้รับผลกระทบมากที่สุด รองลงมาคือ Instagram และ Twitter

 

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่ผู้ใช้งาน Twitter ดูเหมือนจะได้รับผลกระทบด้านลบจากโซเชียลมีเดียน้อยที่สุด แต่ผู้ใช้ Twitter เป็นคนเพียงกลุ่มเดียวที่มีความเสี่ยงต่อปัญหาความสัมพันธ์กับคนรอบข้างในชีวิตจริง

 

การเปลี่ยนแปลงของผู้ใช้โซเชียลมีเดียในด้านที่ดีขึ้น

ความมั่นใจในการแสดงออก

ผู้ใช้ Twitter และ Instagram เป็นกลุ่มที่มีการพัฒนาในเรื่องความมั่นใจในการแสดงออกมากที่สุด ตามมาด้วยผู้ใช้ Facebook

 

ความมั่นใจในรูปลักษณ์ของตัวเอง

เมื่อเป็นการแสดงภาพของตัวเองอย่างชัดเจน Instagram จึงเป็นแพลตฟอร์มที่ตอบสนองต่อการสร้างความมั่นใจในรูปร่างหน้าตาของตัวเองได้มากที่สุด รองลงมาเป็น Twitter และ Facebook ตามลำดับ

 

การสนับสนุนทางอารมณ์

ปรากฏว่าแพลตฟอร์มที่ช่วยในการยับยั้งชั่งใจก่อนปลดปล่อยอารมณ์รุนแรงออกมา กลับเป็น Facebook ตามมาด้วย Twitter และ Instagram ที่พบการตอบสนองทางด้านความรุนแรงของอารมณ์ได้น้อยกว่า

 

การสร้างกลุ่มเพื่อน

หากอยากจะใช้โซเชียลมีเดียในการหาเพื่อนคุยเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ หรือแบ่งปันความรู้สึกต่างๆ ให้แก่กัน Facebook เป็นแพลตฟอร์มที่เหมาะสมที่สุด รองลงมาคือ Twitter และ Instagram

 

การรับรู้ถึงสุขภาพของคนอื่น

Facebook เป็นที่ที่ผู้ใช้งานเปิดเผยเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพของตัวเองออกมาได้มากที่สุด ซึ่งเป็นผลดีต่อการวินิจฉัยสุขภาพในด้านต่างๆ มากขึ้น รองลงมาคือ Twitter และ Instagram

 

อย่างไรก็ตาม โซเชียลมีเดียทุกชนิดมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับคนรอบข้างในชีวิตจริง การเข้ารับคำปรึกษาด้านสุขภาพอย่างจริงจังกับผู้เชี่ยวชาญ และความเหงาโดดเดี่ยวเดียวดาย และนี่เป็นสาเหตุของความเสี่ยงของโรคที่เกี่ยวกับสุขภาพจิตที่อาจเกิดขึ้นได้กับคนที่เสพติดโซเชียลมีเดียมากเกินไป

 

ใช้โซเชียลมีเดียให้เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

ดังจะเห็นได้ตามด้านบนว่า โซเชียลมีเดียไม่ได้มีแต่ด้านลบ แต่ยังมีประโยชน์กับสุขภาพจิตของเราอยู่บ้างเช่นกัน ดังนั้นหากเราใช้โซเชียลมีเดียอย่างถูกวิธี ก็จะทำให้เราสุขภาพจิตดี และมีความสุขได้ทั้งในโลกอินเตอร์เน็ต และโลกของชีวิตจริง

  1. กำหนดเวลาในการเล่นโซเชียลมีเดียอย่างแน่นอน ไม่ควรเล่นโซเชียลมีเดียทั้งวันทั้งคืนโดยที่ไม่สามารถควบคุมตัวเองให้เลิกเล่นได้ ถึงเวลาที่ต้องทำงาน กินข้าว หรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิ ก็ต้องสามารถวางมือจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ลงได้

  2. คิดให้ดีก่อนพิมพ์ลงไป ลดการใช้ Hate Speech ก่อนจะพิมพ์ว่ากล่าวใครควรคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น ประวัติของเราจะเสียไหม หากผู้ใหญ่มาเห็นจะว่าอย่างไร เจ้านาย หรือ HR มาเห็นจะเป็นอย่างไร คำที่เราพิมพ์ลงไปจะทำลายชีวิตของใครหรือเปล่า เป็นต้น

  3. ปล่อยวางจากการเรียกร้องความสนใจจากคนที่เราไม่รู้จัก ไม่จำเป็นที่เราจะต้องได้ยอด follows หรือยอด Likes มากเพื่อทำให้เรามีความสุข ขอให้เรามีความสุขกับการได้เผยแพร่คำพูดที่อ่านแล้วเป็นสุขกับคนอื่นๆ จะดีกว่า

  4. จำไว้ว่า เราใช้โซเชียลมีเดียเพื่อการผ่อนคลายความเครียด เพื่อเป็นงานอดิเรก ไม่ควรให้โซเชียลมีเดียมาทำให้เราเครียดมากขึ้น หากเริ่มรู้สึกว่าโซเชียลมีเดียทำให้เราเครียด และไม่มีความสุข ก็ถึงเวลาที่เราจะต้องโบกมือลากับมันสักระยะ

  5. ใช้โซเชียลมีเดียเพื่อสร้างกำลังใจ และแพร่กระจายความสุขให้กับคนอื่น มากกว่าที่จะใช้เพื่อการทำลายความรู้สึก และชีวิตของคนอื่น หากเป็นเรื่องที่ต้องใช้กฎหมายตัดสิน ให้ไปเดินเรื่องในชีวิตจริงมากกว่าจะมาลงโทษกันเองในโลกโซเชียล

  6. ใช้วิจารณญาณในการอ่าน และติดตามข่าวสารให้ดี อย่าเพิ่งรีบเชื่อรีบส่งต่อข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือให้คนอื่นในทันที

  7. ใช้โซเชียลมีเดียในทางสร้างสรรค์ สร้างมิตรภาพที่ดี พูดคุยแลกเปลี่ยนเนื้อหาสาระต่างๆ กันด้วยความรู้สึกดีๆ จะช่วยให้สุขภาพจิตของเราดีขึ้น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook