ไวรัสซิกา โรคร้ายจากยุง ที่ส่งผ่านได้ทาง "เพศสัมพันธ์"

ไวรัสซิกา โรคร้ายจากยุง ที่ส่งผ่านได้ทาง "เพศสัมพันธ์"

ไวรัสซิกา โรคร้ายจากยุง ที่ส่งผ่านได้ทาง "เพศสัมพันธ์"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ระยะฟักตัว (ช่วงเวลาตั้งแต่การสัมผัสเชื้อจนถึงการเกิดอาการ) ของโรคไวรัสซิกา (Zika Virus) ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เหมือนจะใช้เวลาเพียงแค่ไม่กี่วัน ไวรัสซิกา โรคร้ายจากยุง ชนิดนี้ อาการของโรคนี้ค่อนข้างจะเหมือนกับอาการติดเชื้อไวรัสที่มีแมลงเป็นพาหะ (arbovirus) ประเภทอื่นๆ อย่างเช่น ไข้เลือดออก (dengue) มีไข้ ผื่นบนผิวหนัง เยื่อบุตาอักเสบ (conjunctivitis) เจ็บกล้ามเนื้อ และข้อต่อ ไม่สบายและปวดหัว อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นเป็นช่วงๆ และต่อเนื่องราว 2-7 วัน

อาการข้างเคียงของโรคไวรัสซิกา

จากการรีวิวบทความต่างๆ ในช่วงเดือนพฤษภาคมปีที่ผ่านมา องค์กรอนามัยโลก (WHO) อ้างว่าอาการติดเชื้อไวรัสซิการะหว่างช่วงตั้งครรภ์ เป็นสาเหตุของการเกิดความพิการทางสมองตั้งแต่กำเนิด (congenital brain abnormalities) อย่างเช่น ภาวะศีรษะเล็ก (microcephaly) และไวรัสซิกายังเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคกิลแลง-บาร์เร (Guillain-Barré) ความพยายามอย่างหนัก เพื่อสืบหาความเชื่อมโยงระหว่างไวรัสซิกา และขอบเขตของความผิดปกติทางระบบประสาทในการวิจัยที่เข้มงวด เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การติดต่อของโรค

ไวรัสซิกา จะติดต่อสู่คนเป็นหลักจากการถูกยุงลายที่ติดเชื้อกัด ซึ่งยุงลายชนิดหลักๆคือ ยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) ในพื้นที่เขตร้อน ยุงลายจะบินกัดในช่วงกลางวัน พบมากสุดในช่วงเช้าตรู่และช่วงบ่ายหรือเย็นแก่ๆ ยุงชนิดนี้เป็นชนิดเดียวกับที่แพร่เชื้อ ไข้เลือดออก (dengue) ชิคุนกุนยา (chikungunya) และไข้เหลือง (yellow fever) ไวรัสซิกาที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ การติดต่อของไวรัสในรูปแบบอื่น อย่างเช่นจากการฟอกเลือด ก็ควรต้องระมัดระวังด้วยเช่นกัน

 

การป้องกัน

ยุงกัด

การป้องกันยุงกัด เป็นมาตรการหลักในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสซิกา วิธีง่ายๆ ก็คือการสวมเสื้อผ้า (แนะนำสีอ่อนๆ) ที่ปกปิดร่างกายให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ การติดตั้งสิ่งป้องกัน อย่างเช่น มุ้งลวดหรือการปิดประตูและหน้าต่าง การนอนในมุ้ง และการใช้ยากันยุงที่มีสาร DEET สาร IR3535 หรือ สารอิคาริดิน (icaridin) ซึ่งดูได้จากคำแนะนำบนฉลากของผลิตภัณฑ์ ผู้ที่ไม่สามารถป้องกันตัวเองได้เพียงพอ ควรได้รับการดูแลและการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที อย่างเช่น เด็กเล็ก คนป่วยและผู้สูงอายุ นักท่องเที่ยวและผู้ที่อาศัยอยู่ที่ในพื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบ ควรอ่านข้อควรระวังเบื้องต้นด้านบน เพื่อป้องกันจากการถูกยุงกัด เป็นเรื่องสำคัญในการปิดหรือทำความสะอาดพื้นที่เสี่ยงของการสืบพันธุ์ของยุง ภายในและรอบๆ บ้าน อย่างเช่น ถังพลาสติก ถังเหล็ก หม้อ รางน้ำ และยางที่ใช้แล้ว ชุมชนควรสนับสนุนหน่วยงานรัฐท้องถิ่นในการกำจัดยุงในพื้นที่ชุมชน หน่วยงานสาธารณสุขอาจให้คำแนะนำถึงการใช้ยาฆ่าแมลง

 

การติดต่อของไวรัสจากการมีเพศสัมพันธ์

ไวรัสซิกาสามารถติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์ สิ่งนี้เป็นเรื่องน่ากังวลเนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกันของการติดเชื้อไวรัสซิกา และส่งผลที่ไม่พึงประสงค์ต่อการตั้งครรภ์ และทารกในครรภ์ สำหรับพื้นที่ซึ่งมีการติดต่อของไวรัสซิกาอย่างต่อเนื่อง ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสซิกาและคู่รักของคุณ (โดยเฉพาะผู้หญิงตั้งครรภ์) ควรได้รับข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงของการแพร่เชื้อไวรัสซิกาทางเพศสัมพันธ์ องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะว่าผู้ชายและผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ ควรได้รับการแนะนำอย่างถูกต้อง ในเรื่องการใช้วิธีการคุมกำเนิดที่หลากหลาย เพื่อที่จะได้สามารถตัดสินใจเลือกได้อย่างมีความรู้ว่า อยากที่จะตั้งครรภ์หรือไม่ หรือเมื่อไรที่ควรตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์และผลลัพธ์ต่อทารกในครรภ์ ผู้หญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน และไม่อยากตั้งครรภ์ เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการติดเชื้อไวรัสซิกาควรพร้อมเข้ารับการบริการคุมกำเนิดฉุกเฉินและการให้คำปรึกษา ผู้หญิงตั้งครรภ์ควรมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย (การใช้ถุงยางอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง) หรืองดกิจกรรมทางเพศอย่างน้อยตลอดช่วงการตั้งครรภ์ สำหรับพื้นที่ซึ่งไม่มีการติดต่อของไวรัสซิกา องค์การอนามัยโลก WHO แนะนำให้มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยหรืองดกิจกรรมทางเพศเป็นเวลา 6 เดือนสำหรับผู้ชายและผู้หญิง ที่เดินทางกลับมาจากพื้นที่ซึ่งมีการติดต่อของไวรัส เพื่อป้องกันการติดเชื้อของไวรัสซิกาผ่านการมีเพศสัมพันธ์ คู่นอนของผู้หญิงตั้งครรภ์ ที่อาศัยอยู่ในหรือกลับมาจากพื้นที่ซึ่งมีการติดต่อของไวรัส ควรมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยหรืองดกิจกรรมทางเพศใดๆ ตลอดช่วงตั้งครรภ์ Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook