เผย 50 เปอร์เซ็นต์ “โรคท้าวแสนปม” ถ่ายทอดทางพันธุกรรม

เผย 50 เปอร์เซ็นต์ “โรคท้าวแสนปม” ถ่ายทอดทางพันธุกรรม

เผย 50 เปอร์เซ็นต์ “โรคท้าวแสนปม” ถ่ายทอดทางพันธุกรรม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ เผยโรคท้าวแสนปมเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ไม่ใช่โรคติดต่อ สามารถอยู่ร่วมกับผู้ป่วยได้ตามปกติ วอนสังคมอย่ารังเกียจ ควรให้กำลังใจเพื่อให้ผู้ป่วยดำเนินชีวิตในสังคม ได้อย่างปกติ

แพทย์หญิงมิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กล่าวว่า โรคท้าวแสนปมเป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้นได้บ่อย พบอัตราการเกิดโรคจากประชาชน 2,500 คน พบผู้ป่วยได้ 1 คน ซึ่งทั้งผู้หญิงและผู้ชายมีโอกาสการเกิดโรคเท่ากัน โดยมีอาการก้อนขึ้นตามผิวหนัง อาจมีขนาดเล็กหรือใหญ่มาก ร่วมกับมีปานสีน้ำตาลขนาดค่อนข้างใหญ่ และรักแร้ตกกระ

โรคท้าวแสนปมก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนกับอวัยวะต่างๆ ได้หลายอวัยวะ เช่น กระดูกสันหลัง ระบบตา ระบบข้อ โรคไต ความดันโลหิตสูง มะเร็ง อาการทางประสาท เช่น ลมชัก ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคท้าวแสนปมที่ได้ผลดี จะเน้นการรักษาตามอาการและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนเป็นหลัก ได้แก่ การตรวจทางจักษุวิทยา การตรวจคัดกรองมะเร็ง และการตรวจวัดความดันโลหิตทุกปี สำหรับการรักษาก้อนตามผิวหนังจะขึ้นกับตำแหน่งและจำนวนก้อนที่เป็น หากเป็นก้อนเดี่ยวหรือมีจำนวน ไม่มากและอยู่ในบริเวณที่ผ่าตัดได้ แพทย์จะพิจารณารักษาด้วยวิธีการผ่าตัดออก แต่มีโอกาสกลับเป็นซ้ำอีก โรคนี้ไม่ใช่โรคติดต่อขอให้ประชาชนอย่างได้รังเกียจ ควรให้กำลังผู้ป่วยเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตในสังคมได้ตามปกติ

ดร.นายแพทย์เวสารัช เวสสโกวิท ที่ปรึกษาผู้อำนวยการด้านวิชาการ สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าโรคท้าวแสนปมเกิดจากการกลายพันธุ์ในยีน การกลายพันธุ์จะทำให้โปรตีนที่มีหน้าที่ควบคุมเกี่ยวกับเนื้อเยื่อของเส้นประสาทผิดปกติทำให้เกิดการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อตามแนวเส้นประสาท และเกิดการ กดทับเส้นประสาท อาจมีอาการเจ็บ การรับรู้การสัมผัส หรือการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ โรคท้าวแสนปมมีการถ่ายทอดพันธุกรรมแบบเด่น คือ หากผู้ป่วยมีบุตร บุตรจะมีโอกาสเป็นโรคเดียวกันได้ถึงร้อยละ 50 นอกจากนี้ยังสามารถพบได้จากความผิดปกติของยีนในร่างกาย ซึ่งไม่ได้รับมาจากบิดามารดาโดยตรง ถึงร้อยละ 50 ของผู้ป่วยทั้งหมด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook