ศึกษากฎหมาย "ไม่ยืนเคารพธงชาติ" "ไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญ" มีความผิดหรือไม่

ศึกษากฎหมาย "ไม่ยืนเคารพธงชาติ" "ไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญ" มีความผิดหรือไม่

ศึกษากฎหมาย "ไม่ยืนเคารพธงชาติ" "ไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญ" มีความผิดหรือไม่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เรียกว่าเป็นที่ถกเถียงกันมานานสำหรับการยืนเคารพธงชาติ หรือ ยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมี เป็นข้อบังคับทางกฎหมายรึเปล่า ถ้าผู้ที่ไม่ทำตามจะมีโทษทางกฎหมายหรือไม่ ดังนั้นเราจึงได้ศึกษาหาข้อมูลมาว่า การไม่ยืนเคารพธงชาติ หรือ ไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมี นั้นมีความผิดทางกฎหมายหรือไม่

ถ้าย้อนกลับในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม หรือหลวงพิบูลสงคราม เป็นนายทหารและนักการเมือง ได้มีการกำหนดวัฒนธรรมให้มีรูปแบบเดียวกันในลักษณะ “ไทยเดียว” หรือ เรียกยุค “ปฏิวัติวัฒนธรรม” โดยในช่วงนั้นมี พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2485 ออกมา โดยมาตรา 6 บัญญัติว่า วัฒนธรรมซึ่งบุคคลจักต้องปฏิบัติตาม นอกจากจะได้กำหนดไว้โดยพระราชบัญญัติแล้ว ให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาได้ในกรณีดังต่อไปนี้

  1. ความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการแต่งกาย จรรยาและมารยาทในที่สาธารณสถานหรือที่ปรากฏแก่สาธารณชน
  2. ความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการปฏิบัติตนและการปฏิบัติต่อบ้านเรือน
  3. ความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการประพฤติตนอันเป็นทางนำมาซึ่งเกียรติของชาติไทยและพระพุทธศาสนา
  4. ความมีสมรรถภาพและมารยาทเกี่ยวกับวิธีดำเนินงานอาชีพ
  5. ความเจริญงอกงามแห่งจิตใจและศีลธรรมของประชาชน
  6. ความเจริญก้าวหน้าในทางวรรณกรรมและศิลปกรรม
  7. ความนิยมไทย

มาตรา 15 ผู้ใดฝ่าฝืนพระราชกฤษฎีกาซึ่งออกตามความในมาตรา 6 มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาทหรือจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือทั้งปรับทั้งจำ (มาตรา15 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2486

ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2485 ประกาศออกมาบังคับใช้ซึ่งในมาตรา 6 บัญญัติว่า บุคคลทุกคนจักต้องเคารพตามระเบียบเครื่องแบบหรือตามประเพณีคือ

  1. เคารพธงชาติขณะที่ชัดขึ้นและลงประจำวันพร้อมกัน ตามเวลาประกาศของทางราชการ
  2. เคารพธงชาติ ธงไชยเฉลิมพล ธงเรือรบ ธงประจำกองยุวชนทหาร หรือธงประจำกองลูกเสือ เมื่อชักขึ้นหรือลงประจำสถานที่ราชการ เมื่อเชิญมาตามทางราชการ หรืออยู่กับที่ประจำแถวหรือหน่วยทหาร ยุวชนทหาร หรือลูกเสือ
  3. เคารพเพลงชาติ เพลงสรรเสริญพระบารมีและเพลงเคารพอื่นๆ ซึ่งบรรเลงในงานตามทางราชการ ในงานสังคม หรือในโรงมหรสพ

ต่อมาในพ.ศ. 2553 ในช่วงรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ประกาศบังคับใช้พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 โดยเนื้อหาในความสำคัญของพระราชบัญญัติฉบับนี้มีใจความว่า มาตรา 3 ให้ยกเลิก พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ.2485 , พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2486 , พระราชบัญญัติเครื่องแบบกรรมการสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2486 , พระราชบัญญัติสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2522 และ พระราชบัญญัติสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535

พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2553พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2553

โดยให้ใช้พระราชบัญญัติใหม่นี้แทน สิ่งที่น่าสนใจในพระราชบัญญัตินี้ คือ “ไม่กำหนดโทษ” สำหรับผู้ฝ่าฝืนการไม่ยืนตรงเคารพเพลงสำคัญ เช่น เพลงชาติ หรือ เพลงสรรเสริญพระบารมี ดังนั้นเมื่อกฎหมายแม่อย่างพระราชบัญญัติฯ 2485 ได้สิ้นสภาพลง กฎหมายลูกอย่าง พ.ร.ฎ. 2485 ก็ต้องสิ้นสภาพลงไปด้วย

สรุปได้ว่าแม้ ณ วันนี้ ไม่ยืนตรงเคารพเพลงชาติ และ ไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมี จึงไม่มีความผิดในทางกฎหมายแต่อย่างใด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook