แพทย์ในสหรัฐอเมริกา ตกเป็นเป้า "ถูกเลือกปฏิบัติ" โดยคนไข้
คำที่ถูกค้นบ่อย
    Sanook//s.isanook.com/sr/0/images/logo-new-sanook.png60060
    //s.isanook.com/ca/0/ud/277/1388429/docter.jpgแพทย์ในสหรัฐอเมริกา ตกเป็นเป้า "ถูกเลือกปฏิบัติ" โดยคนไข้

    แพทย์ในสหรัฐอเมริกา ตกเป็นเป้า "ถูกเลือกปฏิบัติ" โดยคนไข้

    2018-01-27T18:00:00+07:00
    แชร์เรื่องนี้

    docter

    เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ที่แผนกผู้ป่วยฉุกเฉินของโรงพยาบาล Bellevue ของมหาวิทยาลัย New York University นายแพทย์ Sutton Ramsey นักศึกษาแพทย์เฉพาะทางปีที่ 3 เดินเข้าไปในห้องคนไข้ และแม่ของคนไข้ร้องขอให้แพทย์รีบไปดูอาการป่วยของบุตรของเธอ

    เมื่อคุณหมอ Ramsey แนะนำตัวเองว่าตนคือแพทย์ มารดาของผู้ป่วยก็ขอพบกับหัวหน้าแพทย์ และหลังจากที่คุยกับหัวหน้าแพทย์ แม่ของผู้ป่วยรายนี้ก็พาลูกชายของตนออกจากห้องฉุกเฉินไป โดยปฏิเสธการรักษา

    เหตุผลที่ทั้งคุณหมอ Ramsey กับหัวหน้าแพทย์ถูกปฏิเสธนั้น เพราะทั้งสองเป็นชาวแอฟริกันอเมริกัน หรือเป็นคนผิวดำ คุณหมอ Ramsey บอกด้วยว่า ตนเคยถูกคนไข้ใช้คำเรียกว่า "นิโกร" หรือบางครั้งคนไข้เคยยื่นถาดอาหารให้เอาไปเก็บ เพราะคิดว่าตนเป็นพนักงานทำความสะอาด ไม่ใช่แพทย์

    อีกกรณีหนึ่งเกิดขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว เมื่อแพทย์อเมริกันเชื้อสายเกาหลีรายหนึ่งทวีตประสบการณ์ของตนว่า คนไข้ผิวขาวแนวคิดชาตินิยมผู้หนึ่งปฏิเสธที่จะรับการรักษาเนื่องจากตนไม่ใช่แพทย์ผิวขาว

    เรื่องเหล่านี้ล้วนเป็นตัวอย่างของการแบ่งแยกปฏิบัติที่คนไข้มีต่อแพทย์ผู้ให้การรักษา แต่มักไม่ค่อยมีการพูดถึงกัน

    แต่ผู้เชี่ยวชาญบอกว่า บ่อยครั้งที่คนไข้มักขอรับบริการจากแพทย์โดยระบุอย่างเฉพาะเจาะจง จากปัจจัยเกี่ยวกับเพศ เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ อายุ หรือแม้กระทั่งจากความโน้มเอียงทางเพศ

    แม้จะยังไม่มีการเก็บสถิติข้อมูลอย่างเป็นทางการทั้งในฝ่ายรัฐบาลหรือในภาคเอกชนก็ตาม แต่โรงพยาบาลหรือสถาบันแพทย์หลายแห่งก็กำลังพยายามจัดทำคู่มือและแนวทางปฏิบัติ เพื่อรับมือกับสถานการณ์เหล่านี้อยู่

    ตัวอย่างเช่น คณะแพทย์ของมหาวิทยาลัย Penn State มีแนวทางซึ่งระบุว่าจะไม่ยอมปฏิบัติตามคำขอของคนไข้ที่ขอแพทย์โดยระบุอย่างเฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับเพศ เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ หรือความโน้มเอียงทางเพศ

    แต่อาจจะพิจารณาคำขอเรื่องแพทย์แล้วแต่กรณีไป โดยขึ้นอยู่กับลักษณะอาการป่วยและคนไข้เอง เป็นต้น

    อีกตัวอย่างเกี่ยวกับการแบ่งแยกเลือกปฏิบัติต่อแพทย์ผู้ให้การรักษาโดยคนไข้ เกิดขึ้นที่โรงพยาบาล Bellevue ของมหาวิทยาลัย New York University เช่นกัน โดยนายแพทย์ Farzon A. Nahvi แพทย์อเมริกันเชื้อสายอิหร่านวัย 32 ปีซึ่งเกิดและเติบโตในนครนิวยอร์ก พบกับคนไข้รายหนึ่งซึ่งพูดใส่หน้าว่า "คุณดูท่าทางเหมือนผู้ที่น่าจะวางระเบิดโรงพยาบาลแห่งนี้ มากกว่าจะเป็นแพทย์" และปฏิเสธที่จะรับการรักษา

    ส่วนอีกตัวอย่างนั้นมาจากแพทย์หญิง Ashira Blazer สตรีผิวดำผู้เป็นอาจารย์แพทย์อยู่ที่ New York University โดยเธอบอกว่า เมื่อห้าปีที่แล้วเมื่อเธอเข้าไปตรวจคนไข้รายหนึ่งในห้องฉุกเฉินซึ่งอาการเข้าขั้นวิกฤติและมีอาการหัวใจกำเริบ คนไข้ชายรายนั้นไม่เชื่อมั่นเพราะเห็นว่าเธอเป็นสตรีผิวดำ และขอให้พิสูจน์ตัวเองว่าอ่านหนังสือออก ด้วยการอ่านผลการรักษาบนแผ่นบันทึกการตรวจคนไข้

    อย่างไรก็ตาม แพทย์หญิง Ashira Blazer ใจเย็นและสามารถใช้อารมณ์ขันช่วยแก้สถานการณ์ได้ โดยชี้ให้คนไข้รู้ตัวว่าสถานการณ์ของตนเองกำลังคับขัน และต้องให้ความร่วมมือ

    โชคดีที่คนไข้รายนั้นเปลี่ยนใจยอมรับการรักษา และรอดพ้นจากสถานการณ์วิกฤติไปได้ แถมยังขอบคุณแพทย์หญิง Blazer สตรีหญิงผิวดำที่ช่วยดูแลตนเองด้วย

    ขอขอบคุณ

    ข้อมูล :istock